TCAS 68 ระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยไทย
Thai University Central Admission System

Chula International School of Engineering

TCAS คืออะไร?

Thai University Central Admission System

TCAS ย่อมาจาก Thai University Central Admission System ระบบการคัดเลือกนักเรียนเข้าสู่มหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่งเป็นระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่พัฒนาขึ้นโดยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ถูกนำมาใช้แทนระบบ Entrance ที่เคยใช้ในอดีต ระบบนี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้มีความยุติธรรม โปร่งใส และลดความซ้ำซ้อนในการยื่นคะแนนสอบ โดยตัวระบบแบ่งการสอบและการยื่นคะแนนออกเป็นหลายรอบ ทำให้นักเรียนสามารถเลือกสมัครในรอบที่ตนเองสนใจและเหมาะสมกับคุณสมบัติของนักเรียนแต่ละคน

 

เนื้อหาที่น่าสนใจของเราในบทความนี้

ภาพรวมของระบบ TCAS

ในการเตรียมตัวเข้าสู่ระดับมหาวิทยาลัย หนึ่งในขั้นตอนที่ซับซ้อนที่สุด คือ กระบวนการสมัครเข้าเรียนและการคัดเลือกนักเรียนที่เหมาะสมในแต่ละสาขาวิชา ซึ่งระบบ TCAS (Thai University Central Admission System) เป็นระบบที่ได้รับการออกแบบขึ้นมาเพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถเลือกสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยได้อย่างเป็นธรรม และกระบวนการคัดเลือกนี้เป็นหัวใจสำคัญของการเริ่มต้นเส้นทางการศึกษาในระดับสูง ซึ่งการทำความเข้าใจระบบจะช่วยให้นักเรียนและผู้ปกครองสามารถวางแผนการศึกษาต่อได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

ที่มาและวัตถุประสงค์

การเปลี่ยนแปลงจากระบบแอดมิชชั่นเก่ามาสู่ TCAS มีเป้าหมายในการลดการแข่งขันที่รุนแรงและเพิ่มความยุติธรรมในการคัดเลือก ช่วยให้การเลือกคณะที่เหมาะสมของนักเรียนเป็นไปตามความสนใจและศักยภาพอย่างแท้จริง

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมอบโอกาสให้นักเรียนสามารถเลือกและสมัครเรียนได้หลากหลายวิธี โดยให้ความสำคัญกับความสามารถที่แตกต่างกันของนักเรียนแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านทักษะเฉพาะ ความรู้เชิงวิชาการ หรือการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ

 

TCAS มีสอบอะไรบ้าง

ความถนัดทั่วไป : TGAT (Thai General Aptitude Test)

    1. TGAT1 : การสื่อสารภาษาอังกฤษ
    2. TGAT2 : การคิดอย่างมีเหตุผล
    3. TGAT3 : สมรรถนะการทำงาน

 

วัดความถนัดทางวิชาชีพ : TPAT (Thai Professional Aptitude Test)

    1. TPAT1 : ความถนัดแพทย์ (กสพท.)
    2. TPAT2 : ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
    3. TPAT3 : ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
    4. TPAT4 : ความถนัดทางสถาปัตยกรรม
    5. TPAT5 : ความถนัดทางครุศาสตร์ – ศึกษาศาสตร์

 

ข้อสอบวัดความรู้ประยุกต์ : A-Level (Applied Knowledge Level)

    1. A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ ข้อสอบแบ่งเป็น 2 แบบ (สามารถสอบได้ทั้ง 2 แบบ) 
                  – A-Level Math1 : วิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (คณิตพื้นฐาน และเพิ่มเติม)
                  – A-Level Math2 : วิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 (คณิตพื้นฐาน)
    2. A-Level Sci : วิทยาศาสตร์ประยุกต์
    3. A-Level Phy : ฟิสิกส์
    4. A-Level Chem : เคมี
    5. A-Level Bio : ชีววิทยา
    6. A-Level Soc : สังคมศึกษา
    7. A-Level Thai : ภาษาไทย
    8. A-Level Eng : ภาษาอังกฤษ
    9. A-Level ภาษาต่างประเทศอื่น ๆ (เลือกสอบได้ 1 ภาษา)
                  – A-Level Fre : ภาษาฝรั่งเศส
                  – A-Level Ger : ภาษาเยอรมัน
                  – A-Level Jap : ภาษาญี่ปุ่น
                  – A-Level Kor : ภาษาเกาหลี
                  – A-Level Chi : ภาษาจีน 
                  – A-Level Bal : ภาษาบาลี
                  – A-Level Spn : ภาษาสเปน

 

การสอบ TCAS แบ่งออกเป็น 4 รอบ

รอบที่ 1 รอบ Portfolio (แฟ้มสะสมผลงาน)

สำหรับรอบ Portfolio นี้จะเป็นการรับนักเรียนจากการคัดเลือกคุณสมบัติของผู้สมัครและพิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio), เกรดเฉลี่ย (GPAX) หรือคุณสมบัติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขานั้นๆ แต่ละคณะ/มหาวิทยาลัย จะกำหนดเกณฑ์หรือรูปแบบของแฟ้มสะสมผลงานที่ต้องการแตกต่างกัน เช่น ผลงาน, ประเภทของผลงาน, ระดับการแข่งขันของผลงาน ไปจนถึงการเขียนเรียงความ อาจมีบางที่ใช้คะแนนสอบส่วนกลางประกอบการพิจารณาด้วย

 

รอบที่ 2 รอบ Quota (รอบโควตา)

สำหรับรอบโควตา นี้จะเน้นการรับสมัครนักเรียนที่มีคุณสมบัติเฉพาะ เช่น กลุ่มนักเรียนในเขตพื้นที่ กลุ่มนักเรียนในโควตาโรงเรียน กลุ่มนักเรียนในภูมิภาค หรือ กลุ่มนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ โดยใช้คะแนนสอบส่วนกลาง เช่น TGAT/TPAT A-Level หรือ ข้อสอบจากทางมหาวิทยาลัยเอง รวมถึงอาจมีการใช้ GPAX และ GPA 6 เทอม ซึ่งถือเป็นรอบที่มีเกณฑ์คัดเลือกที่หลากหลาย เพราะมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนดเกณฑ์คัดเลือกเองทั้งหมด เนื่องจากต้องการคัดเลือกนักเรียนที่ตรงกับความต้องการของคณะ/มหาวิทยาลัยให้มากที่สุด

 

รอบที่ 3 รอบ Admission (รอบแอดมิชชั่น)

สำหรับรอบ Admission นี้เป็นรอบสำคัญมาก เนื่องจากมหาวิทยาลัยที่ร่วมในระบบ TCAS ทั่วประเทศ รวมทั้ง กสพท จะรับสมัครผ่านระบบกลาง ทปอ. ที่เว็บไซต์ myTCAS ซึ่งจำนวนที่เปิดรับอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ หากรอบ 1 และ 2 ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ ได้จำนวนนักเรียนไม่ถึงจำนวนที่ต้องการ ก็มีโอกาสที่จะเปิดรับเพิ่มในรอบ 3 นี้

ปัจจุบัน เกณฑ์สำหรับสมัครรอบ Admission เป็นเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดเอง โดยใช้คะแนนข้อสอบ TGAT/TPAT และ A-Level ตามสัดส่วนที่มหาวิทยาลัยกำหนด ดังนั้นสาขาเดียวกัน แต่ต่างมหาวิทยาลัยก็อาจจะใช้เกณฑ์ต่างกันก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร

โดยรอบนี้จะมีการประมวลผล 2 ครั้งเพื่อเพิ่มโอกาสสอบติด โดยหลังจากประกาศผลครั้งที่ 1 แล้ว สามารถยื่นขอประมวลผลครั้งที่ 2 ได้ โดยการใช้ข้อมูลการสมัครเดิมจากรอบแรก หากมีผู้สละสิทธิ์ ก็มีโอกาสได้รับการประมวลผลครั้งที่ 2 และสอบติดในอันดับที่สูงขึ้นได้ ซึ่งผลของครั้งที่ 2 นี้ จะไม่มีทางได้อันดับที่แย่ลงกว่าเดิม

 

รอบที่ 4 รอบ Direct Admission (รอบรับตรงอิสระ)

สำหรับรอบ 4 หรือรับตรงอิสระ นี้จะเป็นรอบที่มหาวิทยาลัยเปิดรับเอง หลังจากประกาศผลในรอบ 3 Admission แล้ว ซึ่งเกณฑ์คัดเลือก อาจเหมือนหรือแตกต่างจากรอบอื่นก็ได้ เนื่องจากเป็นการเน้นรับกลุ่มนักเรียนที่ยังไม่ผ่านการคัดเลือกรอบต่างๆ หรือ นักเรียนที่สละสิทธิ์

มหาวิทยาลัยจะยังไม่กำหนดจำนวนที่นั่งในรอบนี้ จนกว่าจะรู้จำนวนที่ยังว่างอยู่ จึงจะเปิดรับเพิ่ม ดังนั้นจึงเป็นรอบที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะมีคณะไหนหรือมหาวิทยาลัยไหนเปิดรับจำนวนเท่าไหร่บ้าง

 

ติดตามข่าวสาร TCAS เพิ่มเติม ได้ที่ myTCAS

ข้อดีและข้อเสียของระบบ TCAS

ข้อดีของระบบ TCAS

  • ช่วยให้เกิดความยุติธรรมในการคัดเลือก
  • ช่วยลดความกดดันของนักเรียน
  • เพิ่มโอกาสในการคัดเลือกตามความสามารถ (เพิ่มโอกาสในการสอบติด)

 

ข้อเสียของระบบ TCAS

  • ขั้นตอนที่ซับซ้อนอาจสร้างความสับสนได้
  • อาจสร้างความอ่อนล้าจากการเตรียมตัวสอบหลายรอบตลอดช่วงการเปิดรับสมัครนักเรียน
  • การศูนย์เสียโอกาสจากการเผื่อใจว่ายังมีรอบต่อไปรออยู่

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับระบบ TCAS

TCAS ต่างจากระบบแอดมิชชั่นเดิมอย่างไร ?

ระบบ TCAS มีรอบการคัดเลือกที่มากกว่าและเกณฑ์การคัดเลือกในแต่ละรอบก็แตกต่างกันไป ทำให้ช่วยเพิ่มโอกาสในการสอบติดของนักเรียนมากยิ่งขึ้น

 

การเตรียม Portfolio สำคัญแค่ไหนในรอบ TCAS 1: Portfolio ?

สำคัญมาก เนื่องจากในรอบนี้มหาวิทยาลัยจะพิจารณาจากแฟ้มผลงานของนักเรียนผู้สมัครเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นจากทั้งกิจกรรมด้านวิชาการ ด้านกีฬา ด้านสังคม หรืออื่นๆ ที่บ่งบอกถึงศักยภาพนอกเหนือจากด้านการเรียนและผลคะแนนเกรดเฉลี่ย

 

ถ้าไม่ผ่านการคัดเลือกในรอบแรก ๆ สามารถสมัครในรอบถัดไปได้ไหม ?

ได้ เนื่องจากระบบถูกออกแบบมาเพื่อคัดแยกนักเรียนที่สอบติดไปแล้วออกจากนักเรียนที่เหลือเพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเท่าเทียม ยุติธรรม นอกจากนั้นเกณฑ์ในการคัดเลือกในแต่ละรอบของแต่ละมหาวิทยาลัยยังแตกต่างกันไป ทำให้ไม่สามารถการันตีได้ว่านักเรียนที่สอบติดแล้วจะสอบติดอีก

 

การคัดเลือกในรอบ Quota เป็นอย่างไร ?

รอบ Quota มักเป็นการคัดเลือกที่เน้นในพื้นที่ที่กำหนด หรือ เครือข่ายโรงเรียนบางเครือข่าย ทำให้กลุ่มการแข่งขันแคบลง ช่วยลดทั้งความกดดันและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปร่วมการสอบคัดเลือกอีกด้วย

 

ควรเตรียมตัวอย่างไรเพื่อเพิ่มโอกาสในการคัดเลือกผ่าน TCAS ?

แน่นอนว่าควรเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆ (ม.4) เพื่อให้ยื่นติดตั้งแต่รอบ Portfolio จะอุ่นใจมากที่สุด ซึ่งสามารถติดตามเกณฑ์การคัดเลือกได้จากปีก่อนหน้า เนื่องจากเกณฑ์ในการคัดเลือกจะไม่แตกต่างกันมากนัก ซึ่งสามารถยึดเป็นเกณฑ์ได้

 

สรุป ระบบ TCAS​ คืออะไร ?

ระบบ TCAS (Thai University Central Admission System) คือ ระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยที่พัฒนาขึ้นโดยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความยุติธรรมและลดความกดดันในกระบวนการรับสมัครเรียน ซึ่งแบ่งการคัดเลือกออกเป็น 4 รอบ ได้แก่ รอบ Portfolio, Quota, Admission, และ Direct Admission โดยแต่ละรอบจะมีเงื่อนไขและวิธีการคัดเลือกที่แตกต่างกันตามความสามารถและศักยภาพของนักเรียน ช่วยให้นักเรียนมีโอกาสในการสมัครและเลือกมหาวิทยาลัยที่เหมาะสมกับตนเองมากขึ้น

 

คอร์ส IELTS การันตี 100% ที่ Westminster

พัฒนามาเพื่อให้นักเรียนของเราสอบได้คะแนนตามที่คาดหวัง และได้ผลลัพธ์จริง

จากหลักสูตรที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และการพัฒนาบุคลากรผู้สอน พร้อมการเอาใจใส่จากเจ้าหน้าที่ของสถาบันเวสท์มินส์เตอร์ จึงทำให้

 

“หลักสูตรของเราประสบความสำเร็จ”

 

พิสูจน์ด้วยผลลัพธ์ของนักเรียนเรา สอบได้ IELTS 7.0-9.0

 

ประธานหลักสูตร

อาจารย์ Richard Hallows

ผู้เชี่ยวชาญด้าน IELTS ระดับโลกที่สร้างหลักสูตร IELTS ให้กับนักเรียนไทย

การันตีคุณภาพด้วยรางวัล British Council IELTS Partner of the Year ถึง 4 ปีซ้อน

รางวัล British Council IELTS Partner of the Year เป็นสิ่งที่รับประกันได้ว่าสถาบันฯของเราเป็นผู้นำในด้าน IELTS อย่างแท้จริง และมีความมุ่งมั่นในการถ่ายทอดหลักสูตรเตรียมสอบ IELTS และการจัดสอบที่มีคุณภาพตามมารฐานของ British Council ที่เป็นเจ้าของข้อสอบ IELTS ทั่วโลก

 

Westminster หวังว่าบทความนี้จะคอยเป็นกำลังใจให้กับทุกๆคนที่กำลังพยายามตามล่าความฝันอยู่ ขอให้ประสบความสำเร็จนะคะ

 

หลักสูตร IELTS ติวเข้มที่พิสูจน์แล้วด้วยผลสอบ IELTS 6.5-7.5 ยกชั้น ในคอร์ส Advanced IELTS

 

เราเป็นศูนย์สอบ IELTS อย่างเป็นทางการของ British Council รูปแบบ Computer-delivered

บริการให้คำแนะนำในการศึกษาต่อต่างประเทศโดยผู้เชี่ยวชาญผู้มีประสบการณ์กว่า 10 ปี ปรึกษาฟรีทุกขั้นตอน

 

Copyright © 2024 Westminster International Co., Ltd All Rights Reserved.